ประกันอัคคีภัยคุ้มครองความเสียหายจากเหตุใดบ้าง?

ปกติประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัย จะคุ้มครอง 6 ภัยหลัก ได้แก่ ภัยไฟไหม้, ภัยฟ้าผ่า, ภัยระเบิด, ภัยจากยานพาหนะ, ภัยจากอากาศยานและภัยเนื่องจากน้ำ (ไม่รวมน้ำท่วม,น้ำซึมจากฐานรากหรือท่อประปาแตกนอกอาคาร) ถ้าจะให้คุ้มครองมากกว่านี้ก็สามารถซื้อประกันเพิ่มเติมได้ เช่น ภัยพิบัติ (น้ำท่วม,พายุ,แผ่นดินไหว) เป็นต้น

ประกันอัคคีภัย คุ้มครองทรัพย์สินใดในบ้านบ้าง?

ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย โดยปกติหมายถึง สิ่งปลูกสร้าง แต่ไม่รวมฐานราก และหรือทรัพย์สินภายในสิ่งปลูกสร้าง ที่มีไว้เพื่อการอยู่อาศัยตามปกติ เช่น เฟอร์นิเจอร์บิวอินด์ หรืออาจะเป็นเครื่องใช้ภายในบ้านที่ไม่ระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ แต่ถ้าทรัพย์สินได้รับความเสียหายจากสาเหตุอื่น ๆ เราก็ต้องย้อนกลับไปดูความคุ้มครองในกรมธรรม์ประกันภัยอัคคีภัยอีกทีว่าคุ้มครองทรัพย์สินจากเหตุใดบ้างซึ่งรายละเอียดจะแตกต่างกันไปในแต่ละกรมธรรม์

เบื้ยประกันแพงไหม?

เบี้ยประกันอัคคีภัยกำหนดโดยกรมการประกันภัย ซึ่งอัตราค่อนข้างถูก ส่วนใหญ่จะคิดอัตรา 0.101% ของทุนประกันภัย บวกค่าธรรมเนียมนิดหน่อยและขึ้นอยู่กับ สถานที่, ลักษณะการใช้สถานที่, ลักษณะสิ่งปลูกสร้าง เช่น ผนัง โครงสร้าง พื้น, ลักษณะภัยที่เอาประกัน นอกจากนี้การติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันภัยต่างๆ ไว้ภายในบ้าน เช่น อุปกรณ์ดับเพลิง หรือเครื่องตรวจจับควัน เป็นตัวช่วยทำให้มีค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยถูกลง

ดังนั้น สมมติทุนประกัน 1 ล้าน ค่าเบี้ยก็ตกปีละเพียง 1,000 บาทเท่านั้น แต่แนะนำว่าควรทำประกันระยะยาว 2 ปีหรือ 3 ปี เพราะจะได้ส่วนลด ค่าเบี้ยจะถูกกว่า เช่น ทำปีเดียวเบี้ยประกัน 900/ปี 
แต่ถ้าทำ 2 ปี จะจ่ายค่าเบี้ยประกันแค่ 175% ของเบี้ยประกัน 1 ปี ( = 1,575 บาท)
และถ้าทำระยะยาว 3 ปี จะจ่ายค่าเบี้ยประกันแค่ 250% ของค่าเบี้ยประกัน 1 ปี (= 2,250 บาท) เป็นต้น

เบี้ยประกันอัคคีภัย เหมาะกับใคร ?

เจ้าของบ้าน เจ้าของห้อง ยิ่งใครที่อยู่ในหมู่บ้าน ทาวเฮาส์ ตึกแถวหรืออยู่คอนโดยิ่งต้องทำ ! เพราะถ้าเกิดไฟไหม้แล้วเราไม่ได้ทำประกันจะยุ่งยากมาก นอกจากทรัพย์สินของเราจะเสียหายหมดตัวแล้ว ถ้าไฟไหม้แล้วไฟลามไปบ้านคนอื่นอีก รับรองเลยว่าเดือนร้อนหนักเป็นหลายเท่า บ้านตัวเองก็วอด แถมยังต้องชดใช้บ้านคนอื่น จะเอาเงินมาจากไหน 

ในส่วนของคอนโดฯ หลายๆ คนมีข้อสงสัยว่ามันจะซ้ำซ้อนกับประกันของคอนโดฯ หรือไม่ คำตอบคือไม่ เนื่องจากประกันอัคคีภัยคอนโดฯ ที่นิติฯ เป็นคนทำ(แต่เรียกเก็บจากเจ้าของห้อง)นั้น เป็นการทำประกันภัยเฉพาะทรัพย์สินที่เป็นของส่วนกลางเท่านั้น ฉะนั้นจึงไม่ถือว่าซ้ำซ้อน เพราะถ้าเราทำเราก็ทำเฉพาะห้องเราหรือทรัพย์สินส่วนตัวของเรา